ทุจริตต้องป้องปราม อย่าเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ กินผลประโยชน์ร่วมกันDefeat corruption
lower level citizen always be used as tool for corruption...the higher level citizen in same organize use them as tool of corrupt by give benefit more than their level of duty or responsibilities..the big corruption always gave them with money and luxuries things that the low level cannot reach for persuade to do corrupt thing...yes or no?
sugar and ghost day
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2558 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ เรื่องผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อสำนักงาน ป.ป.ช. และองค์กรอิสระไทย ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 2,400 คน แบ่งเป็นประชาชน 51% ข้าราชการ/ภาครัฐ 25% และผู้ประกอบการ/ภาคเอกชน 20% จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งผลการสำรวจ ปรากฎว่า
- ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อสำนักงาน ป.ป.ช.และองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ด้านการต่อต้านการทุจริตได้คะแนน 5.71 จาก 10 ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบ 6 ปี
- ประสิทธิภาพการทำงานต่อต้านการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. ประชาชนเห็นว่ามีประสิทธิภาพ คิดเป็น 51% ซึ่งนับว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการสำรวจมา
- กรณีคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่ว่าการทุจริตเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเองโดยตรง” ประชาชน 92% ไม่เห็นด้วย
- กรณีคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่ว่าการที่รัฐบาลทุจริต แต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้สังคมเป็นเรื่องที่รับได้” ประชาชน 87% ไม่เห็นด้วย
- กรณีคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่ว่า การให้สินน้ำใจ (เงินพิเศษ) เล็กๆ น้อยๆ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเรื่องไม่เสียหาย” ประชาชน 85% ไม่เห็นด้วย
- ความสามารถที่จะทานทนต่อการทุจริต ผลการสำรวจได้ค่าคะแนน 2.48 (คะแนน 0 = เกลียดการทุจริต/ไม่สามารถทนได้ คะแนน 10 = สามารถทนได้)
- การมีส่วนร่วมในการป้องกันต่อต้านการทุจริต ประชาชนร้อยละ 85 ยินดีมีส่วนร่วม ร้อยละ 3 อยากมีส่วนร่วมแต่ไม่สามารถทำได้ เพราะจำเป็น/กลัวอันตราย ร้อยละ 12 ไม่ต้องการมีส่วนร่วม
- ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษแก่ข้าราชการ/นักการเมืองที่ทุจริตเพื่อให้ได้สัญญา พบว่าลดลงอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ
– ปี 2553-2556 ต้องจ่าย % เงินเพิ่มพิเศษของรายรับเฉลี่ย 25-35%
– เดือนมิถุนายน 2557 ต้องจ่าย % เงินเพิ่มพิเศษของรายรับเฉลี่ย 15-25%
– เดือนธันวาคม 2557 ต้องจ่าย % เงินเพิ่มพิเศษของรายรับเฉลี่ย 5-15%
– เดือนมิถุนายน 2557 ต้องจ่าย % เงินเพิ่มพิเศษของรายรับเฉลี่ย 1-15 %
“ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. จะพยายามรักษาสถานการณ์เช่นนี้ไว้ และจะทำให้ดียิ่งขึ้นต่อไป” เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ดังกล่าวระบุ
19 กันยายน 2015
เหลืออีกไม่ถึงสัปดาห์ ก็จะครบ 9 ปี ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยอำนาจพิเศษของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 19 และเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 21 กันยายน 2558
9 ปี ถ้าเทียบกับเด็กที่เกิดในวันที่กรรมการ ป.ป.ช. ได้รับแต่งตั้ง ถึงวันนี้ก็น่าจะขึ้น ป.4
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผู้มีอำนาจมากที่สุดในประเทศเวลานี้ ขณะนั้น ยังมียศแค่ พล.ต. เป็นเพียงรองแม่ทัพภาคที่ 1
ผ่านรัฐบาลทั้งทหาร-พลเรือน ถึง 6 ชุด ผ่านการชุมนุมใหญ่ 4 ครั้ง และผ่านการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง
ที่ผ่านมา ป.ป.ช. รับฝากความคาดหวังจากคนในสังคม ว่าจะเป็นองค์กรหลักในปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นปัญหาที่หยั่งรากฝังลึกและบั่นทอนศักยภาพในการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด
ในโอกาสที่ กรรมการ ป.ป.ช. 5 คนสุดท้าย ที่ได้รับแต่งตั้งโดย พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คปค. จะพ้นตำแหน่ง
ก็ถึงเวลาที่จะมาตรวจการบ้านกันแล้วว่า การทำงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใต้สโลแกน “ล้างทุจริตให้สิ้นแผ่นดินไทย เพื่อเทิดไท้องค์ราชัน” ในช่วงที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จมากน้อยขนาดไหน
13 กรรมการ ป.ป.ช. – 3 หมื่นคดีทุจริต – 3 ภารกิจสำคัญ
จากปี 2549 ถึงปัจจุบัน มีผู้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการ ป.ป.ช. รวม 13 คน
– นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. (22 กันยายน 2549 – ปัจจุบัน)
– นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. (22 กันยายน 2549 – 18 กันยายน 2556 พ้นจากตำแหน่งเพราะอายุครบ 70 ปี)
– นายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช. (22 กันยายน 2549 – 14 มีนาคม 2557 พ้นจากตำแหน่งเพราะอายุครบ 70 ปี)
– นายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ ป.ป.ช. (22 กันยายน 2549 – ปัจจุบัน)
– นายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. (22 กันยายน 2549 – ปัจจุบัน)
– นายเมธี ครองแก้ว กรรมการ ป.ป.ช. (22 กันยายน 2549 – 10 สิงหาคม 2555 พ้นจากตำแหน่งเพราะอายุครบ 70 ปี)
– นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. (22 กันยายน 2549 – ปัจจุบัน)
– นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช. (22 กันยายน 2549 – ปัจจุบัน)
– นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ ป.ป.ช. (22 กันยายน 2549 – 13 พฤษภาคม 2553 พ้นจากตำแหน่งเพราะอายุครบ 70 ปี)
– นายปรีชา เลิศกมลมาศ กรรมการ ป.ป.ช. (29 กันยายน 2553 – ปัจจุบัน)
– พล.ต.อ. สถาพร หลาวทอง กรรมการ ป.ป.ช. (7 พฤศจิกายน 2555 – ปัจจุบัน)
– นายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ ป.ป.ช. (29 พฤศจิกายน 2556 – ปัจจุบัน)
– นางสาวสุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. (9 กันยายน 2557 – ปัจจุบัน)
โดยในวันที่ 21 กันยายน 2558 นี้ จะมีกรรมการ ป.ป.ช. อีก 5 คนต้องพ้นจากตำแหน่ง ได้แก่ นายปานเทพ นายประสาท นายภักดี นายวิชา และนายวิชัย ซึ่งต้องมีการสรรหาผู้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทน โดยใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2558
ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไว้โดยสรุป 3 ประการ คือ ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน และตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
แต่ภารกิจที่ผู้คนมักพุ่งความสนใจ คือการ “ปราบคอร์รัปชัน-ตรวจบัญชีทรัพย์สิน” เพราะเป็นงานที่เห็นผลเป็นรูปธรรม-จับต้องได้ ใครทำผิดก็จะมีคดีขึ้นโรงขึ้นศาล
จากการรวบรวมข้อมูลที่ปรากฏใน “รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่” ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องจัดทำเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เป็นประจำทุกปี โดยล่าสุด ก็เพิ่งมีการนำเสนอรายงานประจำปีของปี 2556 เสนอต่อ ครม. ไปเมื่อเดือนเมษายน 2558 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา
จะพบว่า ระหว่างปี 2549-2556 มีคดีที่ ป.ป.ช. รับมาไต่สวนทั้งสิ้น 34,178 คดี และมีบัญชีทรัพย์สินที่รับมาตรวจสอบทั้งสิ้น 191,060 บัญชี(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)
ทำ “คดีทุจริต-ตรวจบัญชีทรัพย์สิน” เสร็จปีละแค่หนึ่งในสี่
ที่น่าสนใจคือ ประสิทธิภาพในการทำงานของ ป.ป.ช. สำหรับคดีจะไต่สวนแล้วเสร็จในอัตราเฉลี่ยราว 25.6% ต่อปี (สูงสุด 63.9% และต่ำสุด 6.2%) ส่วนบัญชีทรัพย์สินจะตรวจสอบเสร็จในอัตราเฉลี่ยราว 27.2% ต่อปี (สูงสุด 66.0% ต่ำสุด 8.7%)
– ผลงานด้านการปราบปรามการทุจริต
ปี 2549 ป.ป.ช. มีคดีค้างและคดีที่รับใหม่รวม 12,364 คดี ดำเนินการแล้วเสร็จ 776 คดี คิดเป็น 6.2%
ปี 2550 ป.ป.ช. มีคดีค้างและคดีที่รับใหม่รวม 14,314 คดี ดำเนินการแล้วเสร็จ 9,148 คดี คิดเป็น 63.9%
ปี 2551 ป.ป.ช. มีคดีค้างและคดีที่รับใหม่รวม 8,273 คดี ดำเนินการแล้วเสร็จ 2,226 คดี คิดเป็น 26.9%
ปี 2552 ป.ป.ช. มีคดีค้างและคดีที่รับใหม่รวม 8,834 คดี ดำเนินการแล้วเสร็จ 2,061 คดี คิดเป็น 23.3%
ปี 2553 ป.ป.ช. มีคดีค้างและคดีที่รับใหม่รวม 9,840 คดี ดำเนินการแล้วเสร็จ 1,458 คดี คิดเป็น 14.8%
ปี 2554 ป.ป.ช. มีคดีค้างและคดีที่รับใหม่รวม 10,988 คดี ดำเนินการแล้วเสร็จ 1,822 คดี คิดเป็น 16.5%
ปี 2555 ป.ป.ช. มีคดีค้างและคดีที่รับใหม่รวม 11,603 คดี ดำเนินการแล้วเสร็จ 3,787 คดี คิดเป็น 32.6%
ปี 2556 ป.ป.ช. มีคดีค้างและคดีที่รับใหม่รวม 10,692 คดี ดำเนินการแล้วเสร็จ 2,208 คดี คิดเป็น 20.6%
แต่ต้องหมายเหตุไว้ด้วย สาเหตุที่ในปี 2549 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนคดีแล้วเสร็จได้เพียง 6.2% เนื่องจากเพิ่งเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 22 กันยายน 2549 และเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 6 ตุลาคม 2549 โดยก่อนหน้านั้น ระหว่างปี 2547-2549 เกิด “สุญญากาศการทำงาน” เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ขณะนั้นต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่จากคดีขึ้นเงินเดือนตัวเอง ทำให้มีคดีคงค้างจำนวนมาก
ขณะที่ในปี 2550 เหตุที่มีคดีดำเนินการแล้วเสร็จจำนวนมากถึง 63.9% ส่วนใหญ่จะเป็นการโอนคดีไปให้กับหน่วยงานอื่นดำเนินการต่อถึง 5,876 คดี โดยเฉพาะการโอนคดีไปให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อไต่สวนคดีทุจริตที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ระดับตั้งแต่ซี 8 ลงไป เพื่อลดปัญหาคดีคงค้างใน ป.ป.ช.
– ผลงานด้านการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
ปี 2549 ป.ป.ช. มีบัญชีทรัพย์สินคงค้างและรับใหม่รวม 41,341 บัญชี ตรวจสอบแล้วเสร็จ 3,757 บัญชี คิดเป็น 9.0%
ปี 2550 ป.ป.ช. มีบัญชีทรัพย์สินคงค้างและรับใหม่รวม 47,873 บัญชี ตรวจสอบแล้วเสร็จ 20,479 บัญชี คิดเป็น 42.7%
ปี 2551 ป.ป.ช. มีบัญชีทรัพย์สินคงค้างและรับใหม่รวม 44,111 บัญชี ตรวจสอบแล้วเสร็จ 4,988 บัญชี คิดเป็น 11.3%
ปี 2552 ป.ป.ช. มีบัญชีทรัพย์สินคงค้างและรับใหม่รวม 51,986 บัญชี ตรวจสอบแล้วเสร็จ 4,569 บัญชี คิดเป็น 8.7%
ปี 2553 ป.ป.ช. มีบัญชีทรัพย์สินคงค้างและรับใหม่รวม 57,414 บัญชี ตรวจสอบแล้วเสร็จ 8,321 บัญชี คิดเป็น 14.4%
ปี 2554 ป.ป.ช. มีบัญชีทรัพย์สินคงค้างและรับใหม่รวม 58,981 บัญชี ตรวจสอบแล้วเสร็จ 12,148 บัญชี คิดเป็น 20.5%
ปี 2555 ป.ป.ช. มีบัญชีทรัพย์สินคงค้างและรับใหม่รวม 72,757 บัญชี ตรวจสอบแล้วเสร็จ 48,051 บัญชี คิดเป็น 66.0%
ปี 2556 ป.ป.ช. มีบัญชีทรัพย์สินคงค้างและรับใหม่รวม 88,747 บัญชี ตรวจสอบแล้วเสร็จ 40,009 บัญชี คิดเป็น 45.0%
นี่คือภาพรวมการทำงาน 2 ภารกิจของ ป.ป.ช. ในช่วงเวลา 9 ปีที่ผ่านมา ที่แม้จะได้รับงบประมาณเพิ่มจาก 787.70 ล้านบาท ในปี 2549 มาเป็น 1,228.16 ล้านบาท ในปี 2556 และมีบุคลากรเพิ่มขึ้นจาก 520 คน ในปี 2550 เป็น 1,354 คนในปี 2556 แต่ผลการทำงานก็ยังไม่สะท้อนประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นตาม “งบ-คน” ที่ได้รับเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
กรรมการ ป.ป.ช. รายหนึ่งเคยกล่าวว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การทำงานของ ป.ป.ช. ในช่วงเวลาที่ผ่านมาล่าช้า โดยเฉพาะการไต่สวนคดีทุจริต มาจากการที่รัฐธรรมนูญ ปี 2550 กำหนดให้มีสำนักงาน ป.ป.ช. จังหวัด ทำให้ต้องกระจายมือทำงานระดับซี 8 ไปเป็นผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. จังหวัดทั่วประเทศ จนขาดบุคลากรที่จะมาช่วยทำงานในส่วนกลาง
“ปานเทพ” พอใจผลงาน หวังดัชนี CPI ขึ้นเกิน 40
นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า พอใจผลการทำงานในเวลาที่ผ่านมา ที่ทำได้ตามเป้าหมายระดับหนึ่ง แม้การไต่สวนคดีจะทำได้สำเร็จเพียง 20-30% ของคดีที่มีอยู่ในมือเท่านั้น แต่ก็เป็นปัญหาที่เกิดจากการบริหารจัดการภายใน ซึ่งปัจจุบันได้มีการแก้ไขแล้ว ที่สำคัญ คดีที่คงค้างทั้งหมดอยู่ในขั้นตอนของการแสวงหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่ในขั้นตอนการไต่สวน ซึ่งได้กระจายไปให้สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่จะทำให้การทำงานหลังจากนี้ของ ป.ป.ช. เป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น
“ป.ป.ช. ได้วางยุทธศาสตร์ว่าจะทำให้ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perception Index: CPI) มากกว่า 50 คะแนน ให้ได้ภายในปี 2560 จากปีที่แล้วซึ่งประเทศไทยได้ CPI อยู่ที่ 36 คะแนน ส่วนปีนี้จะมีการประกาศ CPI ราวเดือนธันวาคม หากได้ CPI เพิ่มเป็น 40 คะแนน ก็ถือว่าผลการทำงานของ ป.ป.ช. ที่ผ่านมา ได้รับการยอมรับจากนานาชาติมากขึ้น”
นายปานเทพกล่าวว่า สำหรับช่วงเวลาที่เหลืออยู่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ตกลงกันว่าจะเร่งเคลียร์คดีสำคัญให้แล้วเสร็จ โดยเฉพาะ 3 คดี ทั้งคดีทุจริตก่อสร้างสนามฟุตซอล คดีทุจริตก่อสร้างโรงพักทดแทน 396 แห่ง และคดีสั่งสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ที่จะนำเข้าพิจารณาในที่ประชุม ป.ป.ช. ชุดใหญ่ ก่อนที่กรรมการ ป.ป.ช. ชุดใหม่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นช่วงราวเดือนพฤศจิกายน 2558
ทั้งนี้ จะมีการจัดงานแถลงข่าวผลการทำงานตลอด 9 ปีที่ผ่านมาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายในเดือนกันยายน 2558 นี้
ข่าวในประเด็น
- ป.ป.ช. แจงความคืบหน้าคดี “จุฑามาศ ศิริวรรณ” อดีตผู้ว่าการ ททท. เรียกรับเงินสินบน 60 ล้านบาท
- เปิดผลงาน 8 ปี ป.ป.ช. กับ 27 คดีสำคัญ เฉลี่ยใช้เวลาชี้มูลคดีละกว่า 2 ปี คดี “พ้นมือ” แต่ขาดอายุความในชั้นศาล 3 คดี
- เปิดข้อพิพาท ป.ป.ช.-อสส. งัดข้อ 30 คดี เผย 17 สำนวน ป.ป.ช. ฟ้องเอง ลุ้นคดีถอดถอน-อาญา “น.ส.ยิ่งลักษณ์”
- ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษา”อภินันท์ ตันมา” พ้นตำแหน่งนายกเทศมนตรี ต.แม่คำมี จ.แพร่ – เว้นวรรค 5 ปี – จำคุก 8 เดือน
- เปิดชื่อ “10 อธิบดี” ถูก ป.ป.ช. สอบ มี “ธาริต เพ็งดิษฐ์-ศรีสุข จันทรางศุ” ติดโผ
- ป.ป.ช.สั่งอายัดทรัพย์สิน “ธาริต เพ็งดิษฐ์” อดีตอธิบดีดีเอสไอ พร้อมภรรยา รวม 40 ล้านบาท-ให้แสดงบัญชีทรัพย์สินใหม่ใน 30 วัน
- ป.ป.ช. ขยายเวลา 30 วัน ให้ “ธาริต เพ็งดิษฐ์” แจงที่มาทรัพย์สิน ปมร่ำรวยผิดปกติ – ขีดเส้นตาย 19 พ.ค.
http://thaipublica.org/2015/09/nacc-21/
http://thaipublica.org/2015/09/nacc-23/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น